ฟิลเตอร์ ผีหลอกเด็ก

เมื่อผู้ที่เด็กไว้ใจ ใช้ฟิลเตอร์ ผีหลอกเด็ก แกล้งเด็กให้กลัว แล้วเด็กจะเติบโต กลายเป็นผู้ใหญ่แบบไหน

พูดถึง แอปพิเคชั่นยอดนิยมอย่าง TikTok นั้นจะมี ฟิลเตอร์ผีหลอกเด็ก ที่เคยเป็นกระแสช่วงหนึ่ง เมื่อมีคนเอาคลิป ที่ในคลิปเป็นการกระทำ โดยพ่อแม่ของเด็ก เปิดหน้าจอมือถือ ให้เด็กดู จากนั้นได้ใช้ฟลเตอร์ รูปผี ปรากฏตัวขึ้น ภายในหน้าจอ แล้วก็วิ่งหนีลูกออกจากห้อง มิหน่ำซ้ำยัง ปล่อยเด็กให้อยู่ตามลำพัง

ในทางนักจิตวิทยาเด็ก และจิตแพทย์ ต่างออกมาเตือน เรื่องราวเหล่านี้ ในหลายแง่มุม ถึงการแกล้งในรูปแบบนี้ กับการเล่นสนุกของผู้ใหญ่ หรือผู้ปกครองเพียงครั้งเดียว อาจจะส่งผลกระทบ ต่อเด็กในระยะสั้น และระยะยาว ที่รวมไปถึงการเติบโตไปสู่วัยผู้ใหญ่ จากบทสัมภาษณ์ ที่ได้คุยกับ นักจิตบำบัดพฤติกรรมและความคิด และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ถึงผลกระทบที่จะตามมา

ฟิลเตอร์ ผีหลอกเด็ก

เด็กเล็กมักมีความกลัวบางอย่างที่ผู้ใหญ่รู้สึกว่าไม่มีเหตุผล

“หมอมิน” พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก “เข็นเด็กขึ้นภูเขา” กล่าวกับบีบีซีไทยในกรณีนี้ว่า เมื่อความกลัวเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ๆ ที่การพัฒนาทางความคิดยังไม่ดีเหมือนเด็กโต การแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ยังไม่ถูกต้องตามความจริง ดังนั้น ความกลัวก็ยิ่งบั่นทอนความรู้สึก และส่งผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาว

หากความกลัวนั้นรุนแรง และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หมอมิน กล่าวว่า ตามทฤษฎีของ Piaget พูดถึงเด็กในวัย 2-7 ปีว่าเป็นช่วง Preoperational stage ซึ่งเด็กจะมีลักษณะความคิดที่มีจินตนาการ (fantasy) มาก ความมีจินตนาการของเด็ก แม้เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ แต่บางครั้งการที่ยังแยกแยะเรื่องจริงกับจินตนาการไม่ได้ เด็กเล็ก ๆ

จึงมักมีความกลัวบางอย่างที่ผู้ใหญ่ รู้สึกว่าไม่มีเหตุผล “ความกลัวของเด็กนั้น แม้จะดูไร้สาระในสายตาของผู้ใหญ่ แต่มันก็มีความหมายและควรให้ความสำคัญ… การหลอกด้วยฟิลเตอร์หลอกผี เด็กบางคนจะแยกแยะเรื่องจริงและเรื่องหลอกไม่ได้ ก็ทำให้กลัวมากได้”

หมอมิน ยกตัวอย่างกรณีอื่นที่สะท้อน ถึงความกลัวของเด็กเล็กคล้าย ๆ กัน เช่น เด็กบางคนกลัวว่าเวลานั่งโถส้วมจะถูกดูดลงไปในโถ หรือเด็กบางคนคิดว่าใบกล้วยนอก หน้าต่างตอนกลางคืน เป็นมังกรยักษ์ในนิทาน การขู่ ให้กลัวในเรื่องสวัสดิภาพ ของเด็กกระทบถึง วัยผู้ใหญ่

พญ.เบญจพร ชี้ว่าเวลาที่ผู้ใหญ่หลอกอะไรเด็กขู่ให้กลัว เด็กก็มักจะปักใจเชื่อจริง ๆ เช่น มีแม่คนหนึ่งขู่เด็กว่าถ้าเป็นเด็กดื้อเดี๋ยวแม่จะหนีออกจากบ้าน ตั้งแต่นั้น เด็กก็ไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะกลัวว่าแม่จะหนีจากเขาไป ที่เป็นเช่นนี้ เพราะยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย

หรือสวัสดิภาพของตัวเองกับคนที่เขารัก เช่น พ่อแม่ เด็กจะกลัวมากขึ้นเป็นหลายเท่า บางครั้งความกลัวก็ทำให้เด็ก ๆ ฝันร้าย นอนไม่หลับ “ในระยะยาวมันอาจจะส่งผลกระทบ กับเด็กบางคนจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ เช่น ผู้ใหญ่คนหนึ่งที่เป็นโรคกลัวที่แคบ เมื่อย้อนประวัติไปในวัยเด็กก็พบว่า ตอนเล็กๆ ถูกพ่อแม่ขังไว้ในห้องเก็บของมืดๆ แคบๆ อยู่หลายชั่วโมง”

พญ.เบญจพร ชี้ด้วยว่า ความกลัวถ้าเกิดขึ้นรุนแรง และบ่อยครั้งจะส่งผลกระทบ ต่อความมั่นคงทางใจ มีผลกระทบกับความรู้สึกไม่เชื่อมั่นในตัวเอง การมองโลกในแง่ร้าย ภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้าได้

ความไว้วางใจที่เด็กมีต่อผู้เลี้ยงดูถูกทำลายลง

ณัฐวลัญช์ กิตติวังชัย นักจิตบำบัดพฤติกรรมและความคิด จากศูนย์ให้คำปรึกษาทางสุขภาพใจ “วางใจ สปาใจ” กล่าวกับบีบีซีไทยว่า สำหรับเด็กวัยตั้งแต่ 0-7 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่เด็กสร้างสายสัมพันธ์กับพ่อแม่ ตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นมา และเป็นช่วงสร้างความไว้วางใจกับพ่อแม่ เมื่อลูกถูกแกล้งด้วยวิธีนั้น แล้วอารมณ์ทางลบถูกกระตุ้นขึ้นมาอย่างกระทันหัน

ผลกระทบต่อเด็ก คือ การเกิดภาพจำที่ฝังในใจ และกระทบไปถึงความไว้วางใจต่อผู้เลี้ยงดูได้ถูกทำลายลง “เขาไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เขาจะถูกแกล้งอีก จึงทำให้เกิดเรื่องของความหวาดระแวง ซึ่งถ้าอย่างร้ายแรงในอนาคตก็อาจจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคกลัว (Phobia) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ตามมาได้อีก”

“ในระยะยาวอาจทำให้เด็กมีมุมมองต่อการมองโลก (Point of view to other / world) แบบไม่ไว้วางใจใคร โลกนี้อันตราย ฉันจะโดนทำร้าย ฉันอาจโดนแกล้ง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคดังกล่าวข้างต้น” แกล้งให้กลัว หรือขู่ให้กลัวเพื่อให้เด็กปรับพฤติกรรม ทำให้เกิดความกลัวอย่างไม่มีเหตุผล

นักจิตบำบัดพฤติกรรมและความคิด จากศูนย์ให้คำปรึกษาทางสุขภาพใจ “วางใจ สปาใจ” ชี้ว่า ผลกระทบในระยะสั้น เมื่อเด็กจำภาพความกลัวนี้แล้ว เด็กจะมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เกิดภาวะเช่นนั้นมาก่อน

“ยกตัวอย่าง พฤติกรรม เช่น แม่ที่กลัวจิ้งจก ลูกซึ่งอายุเพิ่งจะ 2 ขวบ เขาไม่เคยรู้เรื่องความกลัวว่าแม่กลัวสิ่งนี้ เมื่อเห็นปฏิกิริยาที่แม่กลัว จะเกิดการเรียนรู้ว่า จิ้งจกเป็นสิ่งน่ากลัว ซึ่งมาจากตัวแม่เอง” อย่างไรก็ตาม ณัฐวลัญช์ กล่าวว่า กรณีฟิลเตอร์ผีหลอกเด็ก นั้นรุนแรงกว่า

“การเห็นภาพและเสียงว่ามันน่ากลัวในห้องปิดและไม่มีใครช่วยเหลือเขา เมื่อเขาอยู่ในสิ่งกระตุ้น นั่นคือห้องปิด เสียง ความมืดลักษณะนี้ จะทำให้เขาเกิดความกลัวขึ้นมาทันทีอย่างไม่มีเหตุผล เป็นเรื่องของทฤษฎีของการเรียนรู้”

ในขณะเดียวกัน การสอนหรือปรับพฤติกรรมลูกด้วย วิธีการขู่ให้กลัว ในทางจิตวิทยาไม่ได้แนะนำวิธีการนี้ เช่น การขู่หรือใช้คำพูดของผู้ใหญ่ ด้วยสถานการณ์ที่ไม่มีเหตุผล เช่น ขู่ว่าจะทิ้ง ขู่ว่าจะมีใครมาเอาตัวไป ขู่ว่าจะโดนจับหากไม่กินข้าว ซึ่งไม่สมเหตุสมผลว่าทำไมกินข้าวต้องโดนตำรวจจับ

“ในเด็กวัยเล็ก ๆ หรือเริ่มกำลังจะโต การพัฒนาในส่วนความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เขากำลังเติบโต หากมีการ Input (ใส่) ข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผล เลยกลายเป็นว่าทำให้เด็กกลัวตำรวจโดยไม่สมเหตุสมผล”

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : kashwerwaterwell.com